วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

กีฬาประจำชาติอาเซียน



กีฬาประจำชาติของประเทศอาเซียน

     ทุกคนควรจะได้มารู้จักกีฬาประจำชาติอาเซียนเพื่อบ้านใกล้เรือนเคียงกันว่าแต่ละประเทศนั้นมีกีฬาประจำชาติอะไรกันบ้างหรือประชาชนของประเทศนั้นๆเล่นกีฬาอะไร  เชิญนักเรียนมาติดตามและรับความรู้ได้แล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

กีฬาประจำประเทศไทย คือ มวยไทย เเละ ตะกร้อ


ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)  
  
 

          กีฬามวยไทย  มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้



10.2 กีฬาตะกร้อ ชมคลิปอธิบายประวัติและการเล่นได้เลยครับ


กีฬาประจำประเทศฟิลิปปินส์ คือ ชกมวย(กีฬายอดนิยม)


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)  

 

        ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ กีฬาทำชื่อเสียงให้กับฟิลิปปินส์อื่นๆ ได้แก่ ชกมวย ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ นักมวยของฟิลิปปินส์ที่ทำชื่อเสียงในระดับนานาชาติมีเช่น Manny Pacquiao., แชมเปี้ยนบิลเลียด ได้แก่ Efren Reyes, แชมเปี้ยนหมากรุกได้แก่ Eugene Torre.สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลฟิลิปปินส์มีทีมอาชีพและมีการจัดการแข่งขันที่มีบริษัทและองค์กรสนับสนุนอย่างดีและมีผู้ชมหนาตา


                               
                                                                     

กีฬาประจำประเทศมาเลเซีย คือ silat


ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 

      

                 silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ                ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย


กีฬาประจำประเทศลาว คือ กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
                                                                                                          
     
กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง  เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศลาวเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีวิธีการเล่นเหมือนกับประเทศไทยลูกข่างถือเป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นโดยการผูกด้วยเชือก และขว้างลูกขว้างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติกาการเล่น (1) หากขว้างลูกข่างไม่หมุนหรือออกนอกวงถือว่าแพ้ (2) ผู้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลูกข่างที่พันเชือกขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น
1.ลูกข่าง ส่วนมากจะทำจากไม้มะยมกลึงมีตะปูเป็นเดือยแหลมตรงกลางคนละ 1 ลูก
2.เชือกยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกด้วยไม้ หรือร้อยด้วยฝาเบียร์
3.วงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตร
วิธีเล่น 
ในการเล่นลูกข่างไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ก่อนเล่นจะขีดวงกลมขนาด 50-60 เซนติเมตรบนพื้นดิน แล้วจัดลำดับการเล่นตามวิธีการจัดลำดับก่อนการเล่นดังกล่าวแล้วก่อนเล่นทุกคนใช้เชือกพันลูกข่างของตน โดยพันจากปลายเดือยขึ้นมาจนถึงตัวลูกข่าง แล้วถือชายหนึ่งไว้ระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนหัวแม่มือหงายรองรับปลายเดือยลูกข่างไว้ เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นจะขว้างลูกข่างตกถึงพื้นจะหมุนหากลูกข่างของผู้ใดไม่หมุน หรือออกนอกวงถือว่าแพ้จะถูกทำโทษด้วยการให้เจ้าของลูกข่างนำลูกข่างของตนวางไว้ในวงกลม ให้ผู้อื่นนำลูกข่างที่พันเชือกเตรียมไว้ขว้างลงไปบนลูกข่างนั้นเรียกว่า “โจ๊ะลูกข่าง” ทีละคน หากลูกข่างทำจากไม้ไม่ดีจะแตก แต่ถ้าทำจากไม้มะยมจะเป็นเพียงรอยเจาะเท่านั้น

กีฬาประจำประเทศเวียดนาม คือ โววีนัม



สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(The Socialist Republic of Vietnam)




โววีนัม (Vovinam) คือชื่อของกีฬาศิลปะป้องกันตัวของประเทศเวียดนาม ซึ่ง Wikipedia ได้อธิบายความหมายตรงตัวว่า Vo หมายถึง ศิลปะป้องกันตัว ส่วน Vinam หมายถึงเวียดนาม อันเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ได้มีการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1938 โดย มาสเตอร์ เหวง ลอค ผู้คิดค้นศาสตร์ชนิดนี้ขึ้นมาภายใต้ความกดดันจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มายาวนานกว่าร้อยปี เขาจึงคิดว่าในการสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ จะต้องส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง รู้จักเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และดูแลตัวเองให้สมดุล คือ ทั้งอ่อนและแข็งผสมกันคล้ายกับความเชื่อเรื่องยิน-หยาง จากนั้นศิลปะป้องกันตัวอันเกิดจากการศึกษาทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ สุขภาพ ศาสนาและปรัชญาของมาสเตอร์เหวง ลอค ก็ผสมผสานกันจนกลายมาเป็นโววีนัม และได้แพร่หลายไปทั่วโลกเริ่มจากฝรั่งเศส เยอรมนี และอีกหลายประเทศในยุโรป ไปจนถึงอเมริกา ออสเตรเลีย ที่ต่างก็มีสมาคมโววีนัมของตัวเอง และล่าสุดกีฬาชนิดนี้ก็ยังจะได้รับการบรรจุเป็นครั้งแรกในการแข่งขันอาเซียน อินเดอร์เกมส์ที่เวียดนามในปี 2009 ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักกีฬา เพื่อเข้าแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้ กีฬาชนิดนี้มีความน่าสนใจตรงที่มันเป็นการผสมผสานกันของกีฬาหลากหลายชนิด มีความใกล้เคียงทั้งเทควันโด มวยไทย มวยจีน แล้วยังมีคนบอกว่าคล้ายกับวูซู เพราะมีการรำดาบ ทวน กระบอง หรือการใช้ร่มเพื่อเป็นการป้องกันตัวสำหรับผู้หญิง” ปราโมทย์ สุขสถิตย์ วัย 30 ปี อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติ ผู้ผันตัวเองมาบุกเบิกกีฬาชนิดนี้ บอกถึงที่มาและความแตกต่างของโววีนัม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะการป้องกันตัวอันหลากหลายในแถบเอเชีย

กีฬาประจำประเทศอินโดนีเซีย คือ เคมโป คาราเต้



สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)     

  

เคมโป คาราเต้  – ​เคม​โป​เป็นกีฬาที่มีรากฐานมาจากประ​เทศญี่ปุ่น ​โดยมีสำนักงาน​ใหญ่ของสหพันธ์อยู่ที่​โอซากา ประ​เทศญี่ปุ่น ​ได้รับ​ความนิยม​ในมา​เล​เซีย, ​เวียดนาม, ติมอร์ ​และ บรู​ไน ​โดย​ในอิน​โดนี​เซียมีคน​เล่นกีฬาชนิดนี้กว่า 400,000 คน ​เท่าที​ได้สัมผัสจาก​การอธิบาย​และ​การสาธิต​แล้ว​ไม่ค่อยจะต่างจากคารา​ เต้ ​โดยจะ​เป็น​การผสมผสานกันระหว่าง​เทควัน​โด-ยู​โด-คารา​เต้ ​ซึ่ง​การ​แต่งตัว​ก็มีลักษณะคล้ายกันด้วย    ส่วน​การออกอาวุธจะ​ใช้​ทั้ง​การ​เตะ, ต่อย, ทุ่ม, บิด, ล็อก ตัดสิน​แพ้ชนะด้วยคะ​แนน ​แบ่ง​การ​แข่งขัน​เป็นรุ่นน้ำหนัก ​เชื่อว่าอิน​โดนี​เซียจะ​เดินหน้า​เต็มที่​เพื่อบรรจุ​เคม​โป​ในซี​เกมส์ครั้งต่อๆ ​ไป​โดย​เฉพาะซี​เกมส์ครั้งที่ 26 ที่อิน​โดนี​เซียจะ​เป็น​เจ้าภาพ​ในปี 2554
ตารุง เดราจัต (กีฬาต่อสู้) ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซียปลายปีนี้ เจ้าภาพได้บรรจุ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวชวาตะวันตก เป็นกีฬาสาธิต แม้กีฬาชนิดนี้จะยังไม่คุ้นหูของคนไทย แต่สำหรับชาวอินโดเซียแล้ว นี่คือกีฬาระดับชาติที่ใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของร่ายกายและจิตใจ เตะ… หมัด… ถีบ… คือการออกอาวุธหลัก 3 อย่าง ของ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว ที่คนอินโดนีเซียทุกเพศทุกวัยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีนายอัชหมัด เดดจัต หรือคนที่นี่เรียกว่า “ซาง กูรู” เป็นผู้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 40 ปีก่อนเนื่องจากในวัยหนุ่มเค้ามักจะถูกเพื่อนๆ รุมแกและทำร้าย จึงพยายามฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง พร้อมๆ ไปกับการนำเอาจุดเด่นของศิลปะการต่อสู้หลากหลายแขนง มาประยุกต์เข้าด้วยกัน จนกลายแบบฉบับของตัวเอง โดยตั้งชื่อว่า “ตารุง เดราจัต” ต่อมาไม่ ว่าจะซางกูรูในวัยหนุ่มจะถูกรุมแตะ ต่อย หรือทำร้ายด้วยของแข็ง เค้าก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้เสมอ เพราะตารุง เดราจัต ไม่ได้ใช้พละกำลังด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังต้องรวบรวมสมาธิและความแข็งแกร่งด้านจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับร่างกายด้วย
ตารุง เดราจัต ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย

กีฬาประจำประเทศบรูไนดารุสซาลาม คือ ปันจักสีลัต



ประเทศบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)   

    

        ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่าปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต

          ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่ง เขียนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป แต่สำหรับครั้งนี้จะขอนำบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกัน ดี


กีฬาประจำประเทศกัมพูชา คือ Pradal Serey



ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)    
  

Pradal Serey คืออะไร Pradal Serey  เป็นศิลปะการป้องกันตัวของประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นของครอบครัวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิกบ็อกซิ่ง ในแง่นี้ Pradal Serey จะคล้ายกับมวยไทยเพราะทั้งสองของพวกเขาภายในชนิดเดียวกันของศิลปะการต่อสู้ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียนี้ แต่ยังรวมถึงรูปแบบอื่น ๆ ในประเทศที่แตกต่างกันเช่นการดังต่อไป:
  1. Muay Thai in Thailand. มวยไทยในประเทศไทย
  2. Tomoi in Malaysia. Tomoi ในประเทศมาเลเซีย
  3. Lao Boxing in Laos. ลาวมวยในประเทศลาว
  4. Lethwei in Myanmar. Lethwei ในพม่า
 มันอาจเป็นไปได้ว่า Pradal Serey เก่ากว่ามวยไทยเนื่องจากกัมพูชาเป็น "กรีซ" ของคาบสมุทรอินโดจีนและอีกหลายประเทศ  ในวัดอังกอร์ที่มีหลักฐานของการดำรงอยู่ของมันในฐานะที่เป็นอาณาจักรเขมรเป็นส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอินโดจีนมันเป็นตรรกะของรัฐที่มีบรรพบุรุษจากคิกบ็อกซิ่งมีคนเขมรเป็นฝ่ายกัมพูชาได้รับอิทธิพลการพัฒนาของไทยลาวพม่าและวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม ด้วยเหตุนี้คนจำนวนมากในปัจจุบันกัมพูชาพิจารณาว่ามันเป็น Pradal Serey ศิลปะการป้องกันตัวที่ถูกต้องของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่ามันจะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน
 ในระหว่างการประชุมสุดยอด 1995 ของอาเซียน, สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้องค์การสหประชาชาติ, กัมพูชาเสนอให้รวมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิกบ็อกซิ่งภายใต้ชื่อ Sovanna ภูมิ (Golden Land), คำที่ทำมาจากภาษาบาลี, ภาษาของบรรพบุรุษที่เป็นที่รากของที่สุดของ เซาท์อีสท์เอเชียเช่นภาษาเขมรและไทย . แต่ประเทศไทยคัดค้านว่าแต่ละประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสไตล์คิกบ็อกซิ่งของตัวเองและว่าประเทศไทยทำคิกบ็อกซิ่ง  ประท้วงกัมพูชาไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันระหว่างประเทศใด ๆ



วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

กีฬาประจำประเทศสิงคโปร์ คือ ฟุตบอล เป็นต้น


สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)  
  
 
      
               กีฬาในประเทศสิงคโปร์ ชาวสิงคโปร์เล่นกีฬาฟุตบอล คริกเก็ต แบดมินตัน บาสเก็ตบอล รักบี้ ปิงปอง และวอลเลย์บอล ปกติแล้วในแถบย่านที่อยู่อาศัยของประชากรจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสันทนาการจัดไว้ให้แล้ว กีฬาทางน้ำ เช่น ดำน้ำ สกีน้ำ เรือคายัก และ ว่ายน้ำ ยังเป็นที่นิยมกันบนเกาะนี้ สนามกีฬาแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดให้บริการเมื่อปี 1973 และถูกใช้เป็นสถานที่แสดงทางวัฒนธรรม การกีฬา และความบันเทิงต่างๆ และถูกปิดลงในปี 2007 หลังจากศูนย์กลางการกีฬาของสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เดียวกันนั้น โดยได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2007 และจะพร้อมใช้ในปี 2011
               ชาวสิงคโปร์สร้างผลงานได้ดีในด้านการกีฬาและสันทนาการจนได้รับชื่อเสียงไปทั่วโลก ด้วยการผสมผสานของวัฒนธรรมและความทันสมัย สิงคโปร์ได้มอบโครงสร้างทางศิลปะที่ดีที่สุดให้กับประชากรและนักท่องเที่ยว

กีฬาประจำประเทศพม่า คือ ชินลง


สหภาพพม่า (Union of Myanmar)      


          ชินลง นั้นเป็นกีฬาประจำชาติของพม่า  ชินลงเป็นกีฬาที่เล่นเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่กีฬาที่เล่นเพื่อเอาการแข่งขันการเอาชนะกัน ชินลงเล่นคล้ายตะกร้อ แต่เล่นเป็นวงกลม เล่นกันเป็นทีม ทีมหนึ่งมี6คน โดยจะมีผู้เล่นคนหนึ่งอยู่ตรงกลางของวง จะเล่นท่าที่สวยงาม เหมือนกับว่าเป็นการโชว์ลีลา เทคนิค ความสามารถของทีมนั้นๆ และเพื่อนๆอีก5คนที่ล้อมอยู่จะเป็นคนที่ค่อยช่วย คอยสนับสนุนคนกลาง และถ้าคนตรงกลางเหนื่อย สามารถเปลี่ยนตัวกับคนอื่นได้ ท่าของชินลงนั้นมีมากกว่า 200 ท่า ลองมาชมคลิปกีฬาชินลงว่าจะเล่นกันอย่างไรเชิญครับ
กีฬาชินลง